ปัจจุบันการ รีโนเวทบ้าน เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับการเปลี่ยนจากของเก่า ให้กลายเป็นของใหม่ที่ดีและใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิม แต่ก็ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะเหมาะกับการรีโนเวท
ในบทความนี้จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจในทุกประเด็นของการ รีโนเวทบ้าน เพื่อเตรียมตัวก่อนการรีโนเวทบ้าน
ความหมายของคำว่า รีโนเวท (Renovate)
ความหมายตรงตัวของคำว่ารีโนเวท คือ บูรณะ เป็นการซ่อมแซม ทำใหม่ ปรับปรุงใหม่แบบยกเครื่อง หรือทำให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม มักจะมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือมีกลิ่นอายของแบบเดิมอยู่บ้าง โดยอาศัยการปรับปรุงซ่อมแซมจากโครงสร้างเดิมของบ้านที่มีอยู่ เพื่อให้บ้านที่หมดสภาพและขาดกการดูแลมาเป็นระยะเวลานาน เปลี่ยนโฉมใหม่ให้สวยงามน่าอยู่ และสามารถอยู่อาศัยได้อีกนาน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนรีโนเวทบ้าน
1. ศึกษากฎหมายการรีโนเวทบ้าน
2. ตรวจสอบโครงสร้าง และสภาพรอบๆ
3. กำหนดจุดประสงค์ให้ชัด วางแผนให้รัดกุม
4. ตั้งงบประมาณ
5. เลือกผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือ
6. เลือกวัสดุให้เหมาะสม
7. ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
8. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์เก่าให้เข้ากับบ้านใหม่
ควรตรวจสอบโครงสร้าง และสภาพเดิมเสียก่อน
1. ตรวจสอบการต่อเติมเดิมว่ามีหรือไม่ เพื่อที่จะดูว่าหากต่อเติมเพิ่มไปอีกจะต้องขออนุญาตหรือเปล่า โดยนำมาเทียบกับแบบแปลนเดิม
2. ตรวจรอยร้าวตามอาคาร พื้นและเสาต่างๆ พร้อมกับหาที่มาของรอยร้าวว่าเกิดจากปัญหาอะไร
3. สังเกตระดับอาคาร เทียบกับถนน และพื้นดินโดยรอบเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมา เช่น พื้นทรุด
ข้อดีของการรีโนเวทบ้าน
1. ยืดอายุของบ้านให้นานขึ้น
2. ความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เปลี่ยนไป
3. เพื่อสุขอนามัยในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น
4. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยภายในตัวบ้าน
ศึกษากฎหมายการรีโนเวทบ้าน
ก่อนที่จะทำการรีโนเวทบ้านเก่าก็ควรจะต้องศึกษากฎหมายเสียก่อนว่าสิ่งที่ต้องการทำนั้นเป็นการรีโนเวทบ้าน หรือเป็นการดัดแปลงบ้าน เพราะจะส่งผลว่าต้องไปขออนุญาตในการทำหรือไม่ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านนั้นมีระบุอยู่ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิมนั้นไม่ต้องขออนุญาต ยกเว้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง และโครงสร้างเหล็ก ที่ต้องขออนุญาตทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนที่เหมือนเดิมหรือไม่ก็ตาม
2. การต่อเติมที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่โครงสร้างเดิมเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องขออนุญาต
3. การต่อเติมหรือลดพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งเกิน 5 ตารางเมตร โดยมีการเพิ่มหรือลดเสาและคาน จะต้องขออนุญาต
4. การต่อเติมหรือลดพื้นที่หลังคาเกิน 5 ตารางเมตร โดยมีการเพิ่มหรือลดเสาคาน จะต้องขออนุญาต
ที่มา
ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ thaiinterblock.com